STEAM DECK กับ SWITCH OLED เรื่องของการเปรียบเทียบ ที่ไม่จำเป็นต้องเปรียบเทียบ
แม้ว่าหลาย ๆ คน ที่เล่นคอนโซล จะไม่เคยซื้อเกมบนสตีม และไม่เคยเป็นสมาชิก แต่หลังจากที่มีการประกาศเครื่อง STEAM DECK ออกมาโดย VALUE เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ก็ทำให้แฟน ๆ เกมคอนโซลหลายคน ตาลุก เพราะเกมบน STEAM นั้นขึ้นชื่อว่าถูกครับ แต่จุดอ่อนที่ผ่านมาคือต้องเล่นบน PC เท่านั้น แม้จะเอา PC มาต่อออกจากทีวีก็ตาม ทว่าพอมีอุปกรณ์การเล่นที่แยกออกจาก PC ชัดเจนแบบนี้ แถมพกพาไปไหนก็ได้ มันก็น่าสนใจใช่ไหมล่ะครับ
นอกเหนือจากแฟนคอนโซลที่เล่น STEAM ด้วยแล้วที่สนใจ คนอีกกลุ่มหนึ่งที่สนใจเรื่องนี้มาก คือแฟน ๆ ของนินเทนโด ครับ จากข้อมูลของกลุ่มคอมมิวนิตี้ต่าง ๆ ที่เป็นคอมมิวนิตี้ของนินเทนโด แฟนบอยนินเทนโดหลายคนก็มองว่าเครื่องนี้จะถือเป็นคู่แข่งของนินเทนโด เนื่องจากเป็นเกมพกพาที่ต่อโทรทัศน์ได้ แถมรูปร่างห้าตาก็คล้าย ๆ กันมาก
ทีนี้ การที่ STEAM DECK จะเป็นคู่แข่งกับนินเทนโด SWITCH OLED หรือไม่ จะสู้กันไหวหรือเปล่า ก่อนที่จะเข้าไปสู่การวิเคราะห์ เราจะมาดูก่อนครับว่า STEAM DECK มันคืออะไร และทำอะไรได้บ้าง ตามนี้เลยครับ
SPECIFICATION
- AMD APU CPU: Zen 2 4c/8t, 2.4-3.5GHz (up to 448 GFlops FP32)
- GPU: 8 RDNA 2 CUs, 1.0-1.6GHz (up to 1.6 TFlops FP32)
- APU power: 4-15W
- RAM 16 GB LPDDR5 on-board RAM (5500 MT/s dual-channel)
- Storage 64 GB eMMC (PCIe Gen 2 x1)
- 256 GB NVMe SSD (PCIe Gen 3 x4)
- 512 GB high-speed NVMe SSD (PCIe Gen 3 x4)
- All models use socketed 2230 m.2 modules (not intended for end-user replacement)
- All models include high-speed microSD card slot
- Controls and Input
- Gamepad controls A B X Y buttons
- D-pad
- L & R analog triggers
- L & R bumpers
- View & Menu buttons
- 4 x assignable grip buttons
- Thumbsticks
- 2 x full-size analog sticks with capacitive touch
- Haptics
- HD haptics
- Trackpads
- 2 x 32.5mm square trackpads with haptic feedback
- 55% better latency compared to Steam Controller
- Pressure-sensitivity for configurable click strength
- Gyro
- 6-Axis IMU
- Display
- Resolution 1280 x 800px (16:10 aspect ratio)
- Type Optically bonded IPS LCD for enhanced readability
- Display size 7″ diagonal
- Brightness 400 nits typical
- Refresh rate 60Hz
- Touch enabled Yes
- Sensors Ambient light sensor
- Connectivity
- Bluetooth Bluetooth 5.0 (support for controllers, accessories and audio)
- Wi-Fi Dual-band Wi-Fi radio, 2.4GHz and 5GHz, 2 x 2 MIMO, IEEE 802.11a/b/g/n/ac
- Audio Channels Stereo with embedded DSP for an immersive listening experience
- Microphones Dual microphone array
- Headphone / mic jack 3.5mm stereo headphone / headset jack
- Digital Multichannel audio via DisplayPort over USB-C, standard USB-C, or Bluetooth 5.0
- Power
- Input 45W USB Type-C PD3.0 power supply
- Battery 40Whr battery. 2 – 8 hours of gameplay
- Expansion
- microSD UHS-I supports SD, SDXC and SDHC
- External connectivity USB-C with DisplayPort 1.4 Alt-mode support; up to 8K @60Hz or 4K
- for controllers @120Hz, USB 3.2 Gen 2
- & displays
- Size and Weight
- Size 298mm x 117mm x 49mm
- Weight Approx. 669 grams
- Software
- Operating System SteamOS 3.0 (Arch-based)
- Desktop KDE Plasma
จากที่ดูสเปคนี้ STEAM DECK สร้างขึ้นมาโดยแทบจะล้อสเปคของ PS5 หรือ XSX เลยนะครับ แม้ว่าตัว CPU จะมีแค่ 4 CORE แต่ว่าก็ใช้เทคโนโลยี ZEN2 เช่นเดียวกัน รวมถึงใช้ GPU RDNA2 ที่สามารถทำงานได้ด้วยระดับการแสดงผลที่ 1.6 TFlops FP32 ด้วยนะครับ ซึ่งก็น่าจะเชื่อได้ว่าซัพพอร์ท Raytracing ด้วย
แน่นอนครับ ระดับ 1.6 TFlops FP32 ที่เทียบกับ PS4 10 TFlops หรือ XSX 12 TFlops แล้ว จะพบว่า STEAM DECK ยังห่างไกล แต่ต้องไม่ลืมว่า ด้วยการที่เครื่องมีรูปแบบเป็นเครื่องพกพา แม้ว่าจะต่อออก TV ได้ แต่จุดเด่นหลักก็ยังคงเป็นการที่พกพาไปเล่นที่ไหนก็ได้ นั่นคือจุดที่เชื่อว่าผู้เล่น STEAM จะสนใจ ยิ่งด้วยสเปคแบบนี้ด้วย
คราวนี้มาลองดู สวิทช์ OLED กันบ้างครับ
SPECIFICATION
- Size: 9.5 x 0.55 x 4 inches (w x d x h)
- Weight: Approximately 0.71 lbs / 0.93 lbs with Joy-Con controllers attached
- Screen: Multi-touch capacitive touch screen / 7-inch OLED screen
- Resolution: 1280 x 720 (720p)
- CPU/GPU: Nvidia Custom Tegra processor
- Storage: 64GB (can be expanded using microSDHC or microSDXC cards up to 2TB)
- Wireless: WI-Fi (802.11 a/b/g/n/ac compliant)
- Video output: Up to 1080p via HDMI in TV mode, 720p in handheld mode
- Audio output: 5.1 Linear PCM
- Speakers: Stereo
- USB connector: USB Type-C for charging
- 3.5mm headphone jack
- Battery life: approximately 4.5-9 hours
- Charging time: approximately 3 hours
เรื่องที่ต้องเป็นประเด็นคือ สวิทช์ OLED นั้น ค่อนข้างมีเสียงวิจารณ์เรื่องการแสดงผล ที่ไม่ใช่ 4K และยังเป็นการแสดงผลแบบ 720p ซึ่ง STEAM DECK นั้นมีระดับการแสดงผลที่ 1080p นอกจากนี้ระดับ TFlops ยังน้อยกว่าที่ 1 TFlops กับ 1.6 TFlops ด้วย
หากมองที่แบตเตอรี่ และปุ่มต่าง ๆ ก็ต้องบอกว่า STEAM DECK นั้นมีแบทเตอรี่ที่อึดกว่า และแป้นสำหรับควบคุมที่มากกว่า ยังไม่นับปุ่มกดด้านล่างเครื่องด้วย
และเกมบน STEAM ก็เยอะมากครับ แถมมีสารพัดแนวด้วย แตกต่างไปจากเครื่องคอนโซลเป็นอย่างมากด้วยซ้ำ
ถ้าเรามองแค่นี้ ก็น่าจะทำให้เห็นได้ชัดเจนว่า เครื่อง STEAM DECK น่าจะชนะขาดลอย และตบเอา SWITCH OLED คว่ำด้วยซ้ำ เนื่องจาก SPEC นั้นดีกว่า และตัวเกมก็เยอะกว่าด้วย
แต่ว่าถ้ามาวิเคราะห์กันจริง ๆ คงต้องบอกว่า STEAM DECK และ SWITCH OLED คนละตลาดกันเลยครับ
ถ้าดูเรื่องตลาดแล้ว Steam มีลูกค้า 120 ล้านคน (ข้อมูลสรุปปี 2020) โดยแอคทีฟรายวันอยู่ที่ 25 ล้านคนโดยประมาณ นั่นทำให้ Steam เป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ที่มีสมาชิกมากที่สุด เมื่อเทียบกับ Xbox Live 100 ล้านคน และ PS Plus 103 ล้านคน เพียงแต่ว่า กี่เปอร์เซ็น ของลูกค้า Steam ที่สนใจจอง Steam Deck?

ไม่ว่าจะเป็นกี่เปอร์เซ็นก็ตาม ที่แน่ ๆ เปิดมา 90 นาทียอดจองก็พุ่งไปที่ 110,000 เครื่องสำหรับรุ่น 256 และ 512 โดยปัจจุบัน 2 รุ่นนี้ จองเต็มไปแล้ว คนที่จองต่อจากนี้จะขึ้น expected reservation หรือยืนยันความต้องการจองไปก่อน โดยยังไม่รู้ว่าจะได้เครื่องเมื่อไหร่
ในขณะที่นินเทนโด SWITCH จำหน่ายไปแล้ว 84.59 ล้านเครื่อง (เดือนมีนาคม 2021) เรียกว่าไม่น้อยเลย แต่ว่าถ้าถามว่าใครจะซื้อ OLED คำตอบอาจจะไม่ใช่ 84.59 ล้านเครื่อง โดยเฉพาะคนที่เล่นผ่าน TV อย่างเดียวอาจจะคิดหนักเนื่องจากสิ่งที่ดีเพิ่มขึ้นมาคือจอ OLED นอกนั้นก็มีแค่เพิ่มพอร์ทสายแลนที่ DOC เท่านั้น ตรงนี้น่าจะทำให้ยอดขายไม่พุ่งเท่าไหร่
หลายคนอาจจะพยายามเปรียบเทียบว่า SWITCH มีเกมของ NINTENDO อยู่ แต่เอาจริง ๆ แล้ว คนเล่นเกม STEAM จำนวนหนึ่ง (และน่าจะมาก) ก็ไมได้สนใจเกมของนินเทนโดเช่นกัน
แต่ว่า เอาจริง ๆ แล้ว เราก็ไม่สามารถเปรียบเทียบเรื่องตลาดของทั้งสองเครื่องนี้ได้ เพราะแม้แต่ VALUE เองก็รู้ดีว่า ตลาดของพวกเขาคือใคร ดังนั้นเริ่มต้น VALUE จึงได้เริ่มให้มีการสั่งจองโดยผู้ที่มี ID ของ STEAM เท่านั้น
ในขณะที่นินเทนโด เอง ก็ดีไซน์เครื่องมาให้เข้ากับจุดแข็งของตนเอง เพราะเกมของพวกเขาไมได้เน้นกราฟฟิคอลังการ รวมถึงเน้นการเล่นที่ใช้อุปกรณ์ที่ประกอบเครื่องมาเล่นให้สนุกกับเกมของตัวเองเท่านั้น
แม้จะเป็นเครื่องเกมมือถือเหมือนกัน แต่ระบบต่างกันไปมากพอสมควรเลยครับ ลักษณะเกมก็ต่างกัน ทำให้แนวทางผู้เล่นที่จะเป็นไปบน STEAM DECK ไม่ได้เน้นการเล่นแบบเล่นร่วมกันในแบบเครื่องต่อเครื่อง แต่จะเป็นการเล่นร่วมกันในรูปแบบของเกม MOBA หรือ เกม FPS อย่างเช่น PUBG เป็นต้น

จึงเป็นการเน้นแต่ตลาดของตนเอง ที่มีอินเตอร์เซ็กชั่นด้วยกันน้อยมากครับ
จริง ๆ แล้ว STEAM DECK จะอินเตอร์เซ็กชั่น กับ Xbox มากกว่า ทว่าแม้จะเป็นแบบนั้น ผู้เล่น Xbox ก็ยังสนใจ STEAM DECK ในฐานะอุปกรณ์ที่ลง WINDOWS ได้ โดยสามารถนำเอา XBOX GAMES PASS บน PC มาเล่นได้
ดังนั้น ถ้าคิดเรื่องเกมแข่งขันกัน เราคงมองว่า STEAM DECK คือการขยายตลาดของ VALUE ในตลาดเกมมือถืออีกตลาด ที่เว้นว่างไปนานโดยที่หายไปคือ PSP หรือ PSV ของ SONY นั่นเองแหละครับ หรือถ้ามองคู่แข่งจริง ๆ STADIA หรือ แม้แต่ Xbox เองก็ยังดูใกล้เคียงกว่าสวิทช์เยอะ
ดังนั้นสรุปแล้ว การมอง STEAM DECK เป็นเครื่องเกมมือถือ ก็ถูก เพราะด้วยคุณภาพในการต่อ TV ไม่ได้มีอะไรเด่นไปกว่า NOTE BOOK ดี ๆ เลย แต่ถ้ามองในแง่ของ Mobility หรือการพกพา ความสะดวกในเรื่องอุปกรณ์ควบคุมหรือคอนโทรลเลอร์ การเสียบออกจอ TV ได้สะดวก ก็น่าจะมองว่า มันคือเครื่องเกมพกพา สำหรับคนที่ “อยากเล่นเกม PC โดยเฉพาะ” ซึ่งคอนเซปต์ของเกมบน STEAM ก็แทบจะคนละตลาดกับนินเทนโด ยกเว้นเกมอินดี้หรือเกมมัลติแพลตฟอร์มบางเกม ถ้าเปรียบก็คงไม่ใช่ปลากับนก แต่เป็นปลาที่ว่ายกันคนละทะเล ที่ล้วนแล้วแต่มีบลูโอเชี่ยนของตัวเองยังไงอย่างนั้นล่ะครับ